แนะนำหลักสูตร

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

            ชื่อเต็ม (ภาษาไทย)   :      เศรษฐศาสตรบัณฑิต

           ชื่อย่อ (ภาษาไทย)    :        ศ.บ.

           ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ)   : Bachelor of  Economics

           ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ)    : B.Econ

           รหัสหลักสูตร : 25501851100348

โดยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) รับทราบการให้ความเห็นชอบหลักสูตรนี้แล้ว เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2565 [เอกสาร มคอ. 2] และเอกสารรับรองจากระบบรับทราบหลักสูตร CHECO [เอกสาร]

ได้รับการอนุมัติจากสภามหาวิทยาลัย ตามมติสภามหาวิทยาลัย ในคราวประชุมครั้งที่ 3/2563 วันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2563 [ประกาศอนุมัติหลักสูตร 2564]

ได้รับการรับรองคุณวุฒิเพื่อประโยชน์ในการบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 จากสำนักงาน ก.ค.ศ. [เอกสารรับรองจาก ก.ค.ศ.]

ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร

              –

ระยะเวลาการศึกษา

              1. ระบบ

                   ระบบการศึกษาใช้ระบบการศึกษาแบบทวิภาค โดย 1 ปีการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษาหนึ่งภาคการศึกษาปกติมีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์ การศึกษาภาคฤดูร้อนกำหนดให้มีระยะเวลาและจำนวนหน่วยกิตเทียบเคียงกันได้กับการศึกษาภาคปกติ ทั้งนี้ข้อกำหนดต่าง ๆ ให้เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี

              2. การจัดการศึกษาภาคฤดูร้อน

                   มีการจัดการเรียนการสอนภาคฤดูร้อน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของคณะกรรมการประจำหลักสูตร

              3. การเทียบเคียงหน่วยกิตในระบบทวิภาค

                   – ไม่มี –

วัน – เวลาในการดำเนินการเรียนการสอน

              วันจันทร์ – พฤหัสบดี  เวลา  9.00 – 16.00 น. (วันใดตรงกับวันพระให้ยกไปเรียนวันศุกร์)

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

             คุณสมบัติของผู้สมัครเข้าศึกษาที่เป็นพระภิกษุ-สามเณร

            เป็นผู้สอบได้เปรียญธรรม3 ประโยค และสำเร็จการศึกษาประโยคมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเป็นผู้ได้รับประกาศนียบัตรอื่นที่มหาวิทยาลัยกำหนด หรือ

            1. เป็นผู้สอบได้เปรียญธรรม 3 ประโยค และเมื่อได้รับพิจารณาคัดเลือกให้เข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยแล้ว ต้องศึกษาวิชาในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด หรือ

            2. เป็นผู้สอบได้เปรียญธรรม 3 ประโยค และสำเร็จการศึกษาประโยคมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเป็นผู้ได้รับประกาศนียบัตรอื่นที่มหาวิทยาลัยกำหนด หรือ

            3. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาประโยคมัธยมศึกษาตอนปลายของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา หรือ

            4. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาประโยคมัธยมศึกษาตอนปลายของสถาบันการศึกษาทั่วไป หรือผู้ได้รับประกาศนียบัตรอื่นที่มหาวิทยาลัยรับรอง และเมื่อได้รับการพิจารณาคัดเลือกให้เข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยแล้ว ต้องศึกษาวิชาภาษาบาลีไม่น้อยกว่า 24 หน่วยกิต หรือ

            5. เป็นพระสังฆาธิการหรือครูสอนพระปริยัติธรรมผู้สำเร็จการศึกษาประโยคมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า และสอบได้นักธรรมชั้นเอก และได้รับแต่งตั้งมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี

            6. เป็นผู้ที่มหาวิทยาลัยอนุมัติให้เข้าศึกษาเป็นกรณีพิเศษ เพื่อขอรับปริญญาตามเกณฑ์ที่สภาวิชาการกำหนด

            7. เป็นผู้มีร่างกายแข็งแรงและไม่เป็นโรคหรือภาวะอันเป็นอุปสรรคในการศึกษา

            8. ไม่เคยถูกคัดชื่อออกหรือถูกไล่ออกจากสถาบันการศึกษาใดๆ เพราะความประพฤติหรือวินัย

            คุณสมบัติของผู้สมัครเข้าศึกษาที่เป็นคฤหัสถ์

            1. เป็นผู้สอบได้เปรียญธรรม 3ประโยค ขึ้นไป หรือ

            2. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาประโยคมัธยมศึกษาตอนปลายขึ้นไป หรือเป็นผู้ได้รับประกาศนียบัตรอื่นที่มหาวิทยาลัยรับรอง และเมื่อได้รับการพิจารณาคัดเลือกเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยแล้ว ต้องศึกษาวิชาภาษาบาลีที่มหาวิทยาลัยกำหนดไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต ยกเว้นผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตร สาขาวิชาภาษาบาลี

            3. เป็นผู้มีร่างกายแข็งแรงและไม่เป็นโรคหรือภาวะอันเป็นอุปสรรคในการศึกษา

            4. ไม่เคยถูกคัดชื่อออกหรือถูกไล่ออกจากสถาบันการศึกษาใดๆ เพราะความประพฤติหรือผิดวินัย

            (ให้เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2542) และ ข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550